วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

วันนี้ได้ทำการทดสอบการอินเด็กของเว็บว่าตกลงแล้วอะไรจะอินเด็กก่อนกัน
ระหว่าง BLOGGER และ  WORD PRESS ซึ่งการทำงานเหมือนกันทุกอย่าง
โดยผมจะเขียนบทความใหม่เกือบทุก ๆ วันแล้วเช็คว่าเว็บอินเด็กหรือไม่
และไม่หาลิ้งก์เข้ามาเพิ่มแต่อย่างใด 


ผลสรุปที่ได้ก็คือ ฺBLOGGER  ยังไม่มีการเก็บอินเด็กแต่อย่างไร แต่สำหรับ wordpresนั้นมีให้เห็นแล้ว  ไม่รู้ว่าเป็นการทำสอบที่ดีหรือเปล่า แต่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนเลยเอามาแบ่งปันให้ได้อ่านกัน เผื่อจะพอเป็นแนวทางให้กับผู้ที่กำลังทำ seo อยู่ก็เป็นได้ว่าสุดท้ายจะเลือกอะไรดี ระหว่าง blogger กับ wordpress.com ลองนำไปประยุกใช้กันดูก็แล้วกัน


http://seosohot.wordpress.com/

วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

ผู้นำระดับที่ห้า







           สุเทพ พงษ์ศรีวัฒน์  ได้พบว่า  จิม คอลลินส์ ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของผู้นำมีผลสำคัญต่อความสามารถในการเปลี่ยนองค์กร จาก “ดีธรรมดาให้เป็นองค์กรที่ ดีสุดยอดผู้นำขององค์กรที่ดีสุดยอดจะมีลักษณะที่คล้ายหรือเหมือนกันเกือบหมด เรียกได้ว่า ออกมาจาก เบ้าหลอมเดียวกัน สิ่งที่ผู้เขียนหนังสือเล่มดังกล่าวสรุปมาได้มาจากผลการศึกษาวิจัยล้วนๆ เนื่องจากเป็นการยากที่จะหาชื่อที่เหมาะสมสำหรับเรียกผู้นำขององค์กรเหล่านี้ จึงเรียกด้วยภาษาง่ายๆ  ว่า เป็นผู้นำในระดับที่ห้า (Level 5 Leadership) โดยมีการแบ่งว่า เมื่อคนเราก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำนั้น จะสามารถแบ่งผู้นำที่ดีออกเป็น 5 ระดับ โดยในสี่ระดับแรกประกอบไปด้วย
              ระดับที่หนึ่ง หรือ High Capable Individual เป็นผู้ที่มีความสามารถเฉพาะตัวที่ดี ทั้งทักษะ ความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมในการทำงานที่ดี ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร
              ระดับที่สอง หรือ Contributing Team Member เป็นผู้ที่สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และช่วยให้กลุ่มและทีมบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
              ระดับที่สาม หรือ Competent Manager เป็นผู้ที่สามารถบริหารบุคลากรและทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายขององค์กร
              ระดับที่สี่ หรือ Effective Leader เป็นพวกผู้นำที่สามารถ นั้นคือทำให้ทุกคนเกิดความมุ่งมั่น กำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และสามารถจูงใจให้บุคลากรทุกคนทำงานอย่างทุ่มเทเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว
ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า ในสี่ระดับข้างต้นจะเป็นลักษณะของบุคลากร และผู้นำในองค์กรที่เราพบเจอในหนังสือภาวะผู้นำทั่วๆ ไป แต่ในองค์กรที่สามารถปรับตนเองจากดีธรรมดา ให้เป็นดีสุดยอดได้นั้น ต้องมีลักษณะของผู้นำระดับที่ห้า
              ผู้นำระดับที่ห้า คือ ผู้นำกลุ่มนี้ ไม่เพียงแต่มีคุณลักษณะตาม “ สี่อันดับแรกแล้ว จะมีความแตกต่าง คือ จะต้องสร้างความสุดยอดอย่างยั่งยืนให้กับองค์กรได้ด้วยคุณสมบัติที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ความมุ่งมั่นที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ กับ ความถ่อมตัว การที่ผู้นำระดับที่ห้าเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพถ่อมตัว ไม่ได้หมายความว่า ผู้นำดังกล่าวจะต้องขี้กลัว ไม่กล้า หรือขาดความทะเยอทะยาน ผู้นำเหล่านี้ อาจจะไม่ชอบความมีชื่อเสียง หรือไม่ชอบเป็นจุดสนใจของคนทั่วไป แต่พวกเขาก็มีความมุ่งมั่น และทะเยอทะยานเพื่อองค์กร ไม่ใช่เพื่อตัวเอง  
              คุณสมบัติสำคัญ สำหรับผู้นำระดับที่ห้า คือ      ประการที่หนึ่งความมุ่งมั่นและทะเยอทะยานต่อความสำเร็จขององค์กรเป็นอันดับแรก จนกระทั่งอาจกล่าวได้ว่าผู้นำเหล่านี้ต้องการเห็นความสำเร็จขององค์กร มากกว่าความสำเร็จและความร่ำรวยของตนเอง ผู้นำประเภทนี้จะมีความรักและภักดีต่อองค์กรเป็นอย่างสูง เสียสละได้แม้กระทั่งความสุขหรือความสำเร็จส่วนตัว เพื่อความสำเร็จขององค์กร ต้องการเห็นความสำเร็จขององค์กรยั่งยืนและยืดยาวไปถึงผู้บริหารรุ่นต่อๆ ไปโดยยอมจะอยู่หลังฉากเงียบๆ ไม่ชอบที่จะเปิดเผยตัวว่าเป็นผู้สร้างรากฐาน และความสำเร็จสำหรับผู้นำรุ่นต่อๆไป โดยไม่สนใจว่าผู้นำในยุคต่อไปจะคำนึงถึงรากฐานที่ตนเองได้วางไว้หรือไม่ ส่วนพวกผู้นำที่มุ่งเน้นความสำเร็จของตนเอง ต้องการชื่อเสียง เกียรติยศ ทรัพย์สิน หรือความสำเร็จ ไม่ถือว่าเป็นผู้นำระดับห้าที่จะนำพาองค์กรของตนเองจากองค์กรดีธรรมดาเป็นองค์กรที่ดีสุดยอดได้ ผมเองก็พบผู้นำระดับที่ห้าอยู่เหมือนกัน ผู้นำเหล่านี้จะตรงกันข้ามกับผู้นำธรรมดาๆ ที่มุ่งมั่นต่อความสำเร็จของตนเองเป็นหลัก ไม่ให้ความสนใจต่อการวางรากฐานต่อความสำเร็จขององค์กรในยุคต่อๆไป  อย่างไรก็ตาม ท่านผู้อ่านอาจจะเจอผู้นำที่ประสบความสำเร็จในการนำพาองค์กรสู่ความสุดยอดได้ แต่ถ้าเมื่อเขาหลุดจากตำแหน่ง องค์กรก็เริ่มตกต่ำลง เนื่องจากการขาดการวางรากฐานสำหรับความสำเร็จไว้ตั้งแต่ต้น ย่อมไม่ถือว่าเขาเป็นผู้นำระดับที่ห้า
              ประการที่สอง เป็นผู้ที่ถ่อมตัวและไม่ถือตัวเองเป็นหลัก เวลาพูดกับผู้บริหารที่เป็นผู้นำในระดับที่ห้า ผู้บริหารเหล่านั้นจะไม่พูดถึงสิ่งที่ตนเองได้ทำเลย แต่จะพูดถึงสิ่งที่ผู้บริหาร หรือผู้ร่วมทีมคนอื่นๆ ได้ทำให้กับองค์กร ต่างจากผู้นำที่เราเห็นหลายๆ คนที่ชอบถือตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และมักจะมองว่าความสำเร็จขององค์กรนั้นเกิดขึ้นจากตัวเองเป็นหลัก ผู้นำระดับที่ห้าค่อนข้างเป็นคนถ่อมตัว เก็บตัว เงียบ ขี้อาย หรือแม้กระทั่งหลายๆ ครั้งอาจจะดูไม่มั่นใจ บุคคลเหล่านี้ไม่เคยต้องการที่จะเป็นผู้นำประเภทที่โดดเด่น เป็นที่รู้จักของวงการ แต่ขณะเดียวกัน ผู้นำประเภทนี้ไม่ได้เป็นคนใจอ่อนหรือโลเล สิ่งที่ จิม คอลลินส์ พบจากงานวิจัยของเขาก็คือ ผู้นำที่สามารถนำพาองค์กรสู่ความสุดยอดได้นั้น จะมีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จขององค์กรเป็นอย่างสูง และจะทำทุกอย่างและทุกวิธีทาง (ในสิ่งที่ถูกต้อง) เพื่อนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ         ดังนั้นในหลายๆ ครั้งเราอาจจะเจอผู้นำระดับที่ห้า ที่อาจจะดูใจร้ายก็ได้ เช่น ไล่ญาติตนเองออก หรือ ปิดโรงงานบางแห่งไป ซึ่งถึงแม้จะดูใจร้ายแต่ก็ทำเพื่อความสำเร็จขององค์กร
              ประการที่สาม ผู้นำเหล่านี้มักจะมาจาก “ภายในองค์กรจากหลักฐานงานวิจัยของเขาจะไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำระดับที่ห้ากับการเป็นผู้บริหารที่มาจากภายนอกองค์กร
              ประการที่สี่ ผู้นำในระดับที่ห้าส่วนมากมักพูดถึงความสำเร็จขององค์กร ว่า สาเหตุหลักประการหนึ่งมาจาก  “ดวงหรือโชค” (Luck) เช่น ผู้บริหารที่เป็นผู้นำระดับที่ห้า คนหนึ่งระบุเลยว่า สาเหตุที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จก็คือ ความโชคดีที่สามารถหาคนที่จะมาแทนเขาได้เหมาะสม

ผู้บริหารอีกท่านหนึ่งที่เขียนหนังสือออกมา ตั้งชื่อหนังสือไว้อย่างเก๋ไก๋เลยว่า I’m a Lucky Guy หรือ ผมเป็นคนโชคดีถามว่าทำไมผู้นำเหล่านี้ถึงมักจะให้ความสำคัญกับโชค เนื่องจากผู้นำระดับที่ห้า เมื่อสามารถนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ ก็มักจะมองออกไปจากตัวเองเพื่อหาบุคคลหรือเพื่อนร่วมงานที่จะรับความดีความชอบ แต่ถ้าหาใครไม่ได้ เขามักสรุปให้ไปลงเอยที่ โชคเรียกได้ว่าเมื่อความสำเร็จเกิดขึ้น มักชอบนึกว่าเป็นโชคดีของตนเองที่มีเพื่อนร่วมงานและลูกน้องที่ดี ทางตรงกันข้าม เมื่อเหตุการณ์ไม่ดี ผู้นำเหล่านี้กลับ ไม่โทษโชคชะตาแต่จะมองว่าสาเหตุของความผิดพลาดและล้มเหลวมาจาก ตนเองลักษณะดังกล่าวจะตรงกันข้ามกับ ผู้นำทั่วๆไปที่เมื่อสิ่งไม่ดีเกิดขึ้น มักจะโทษโชค แต่เมื่อมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้น มักจะหันกลับมามองที่ตัวเอง และคิดว่าตัวเองเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

ที่มา http://suthep.cru.in.th

ที่มา http://suthep.cru.in.th

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

What is the purpose of school?

M.ed Educational Innovation: Educational Innovation : นวัตกรรมการศึกษา

M.ed Educational Innovation: Educational Innovation : นวัตกรรมการศึกษา: ความหมายของ นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา “นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือ...

transformational Leadership: transfomational Leadership




transformational Leadership: transfomational Leadership: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  (Transformational Leadership) ปัจจุบันมีแนวคิดทฤษฎีจำนวนมากที่ศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ซึ่งได้มีการพยายามจัดก...

วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

transformational Leadership: ภาวะผู้นำกับการเป็นผู้บริหารที่ดี

transformational Leadership: ภาวะผู้นำกับการเป็นผู้บริหารที่ดี: ภาวะผู้นำกับการเป็นผู้บริหารที่ดี   การบริหารเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคนและงาน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการบริหารงานดังนั้นจึงต้องใช้กา...

transformational Leadership: transfomational Leadership

transformational Leadership: transfomational Leadership: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  (Transformational Leadership) ปัจจุบันมีแนวคิดทฤษฎีจำนวนมากที่ศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ซึ่งได้มีการพยายามจัดก...

ข้อควรคำนึงในการครองตนของผู้บริหาร

ข้อควรคำนึงในการครองตนของผู้บริหาร

·       การกระทำพูดดังกว่าคำพูด
·       จงระวังตัวท่านเองให้มากกว่าระวังผู้อื่น
·       ความสันโดษ ดีกว่าความร่ำรวย
·       การไม่ทำอะไรเลยคือการทำความชั่ว
·       ยิ่งรีบ ยิ่งช้า
·       ถ้าท่านหัวเราะ โลกจะหัวเราะกับท่าน   ถ้าท่านร้องไห้ ท่านจะร้องไห้คนเดียว
·       สอนตนเอง ก่อนที่จะสอนผู้อื่น
·       ความประพฤติเท่านั้น ที่ทำให้คนแตกต่างจากสัตว์
·       จะทำอะไร ทำให้สุดฝีมือ
·       คิดแล้วไม่ทำ ดีกว่าทำแล้วไม่คิด
·       ทำเดี๋ยวนี้ดีกว่า
·       ถ้าเราคิดจะพัฒนาตนเอง ก่อนอื่นเราต้องรู้จักตนเอง ซึ่งไม่ค่อยมีใครรู้จัก เพราะมันอยู่ใกล้เกินไป
·       ขวาน สามารถถากได้สารพัด ยกเว้นด้ามของมันเอง มันถากไม่ได้และไม่เคยถาก
·       อย่าพยายามทำคนอื่นให้เหมือนใจเรา เพราะเราก็ทำให้เหมือนใจคนอื่นไม่ได้
·       ถ้าต้องการเป็นอิสระ ต้องพยายามชนะตนเอง
·       มีมิตรดีเพียงหนึ่งถึงจะน้อยดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา มีเกลือเพียงเล็กน้อยด้อยราคายังดีกว่าน้ำเค็มเต็มทะเล
·       ถ้าไม่รู้จักตนเอง ก็เหมือนไม่รู้จักอะไรทั้งนั้น
·       อยู่ให้เขารัก จากให้เขาเสียดาย ตายให้เขาคิดถึง
·       ความเกียจคร้าน เป็นหลุมฝังศพของคนเป็น
·       คนพูดเก่ง มักเก่งแต่พูด
·       คำพูดที่ออกจากปากไปแล้ว นำกลับมาเข้าปากอีกไม่ได้
·       คำพูดที่มีน้ำหนักมาก ไม่จำเป็นต้องเป็นคำพูดที่มีจำนวนมาก
·       พูดปดคำเดียว ทำลายความจริงเป็นหมื่นๆ คำ
·       การใช้อำนาจ สำคัญกว่าการมีอำนาจ
·       อำนาจ ทำความพินาศให้แก่คนเหลิงอำนาจ
·       การได้อำนาจมาใช้ความสามารถเพียงครั้งเดียว แต่การรักษาอำนาจ ท่านต้องใช้ความสามารถตลอดไป [1]



2   พสุ  เตชะรินทร์  ผู้นำที่ดี กับ ผู้นำที่ไม่ดี อ้างใน ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง  

ผู้นำกับการครองตน




ผู้นำกับการครองตน
      ความหมายของการครองตน
              การครองตนที่ดีนั้น อาจมีได้หลายรูปแบบ ดังคำกล่าวต่อไปนี้
                การครองตน คือ การรู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง และสามารถควบคุมตนเองได้ เป็นผู้มีสติ รอบคอบ  ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
              การการครองตน เป็นศิลปะการทำงานให้มีความสุข
              การครองตน คือ การมีความประพฤติและการปฏิบัติส่วนตนประกอบไปด้วยคุณธรรม ควรแก่การยกย่อง  จากองค์ประกอบค่านิยมพื้นฐาน ๕ ประการ คือ การพึ่งตนเอง การประหยัดเก็บออม การรักษาระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย  การปฏิบัติตามคุณธรรมทางศาสนา การมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ (มยุรี สายสุด :www.kriwoot.com/mayura.doc
               การครองตน หรือการบริหารตนเอง จะต้องปฏิบัติตนเองเป็นสมาชิกที่ดีมีคุณค่าต่อสังคม และเป็นแบบอย่างที่ดี สามารถนำหมู่ชน และสังคมไปสู่ความสันติสุข ต้องครองตนไว้ในที่สูง น่าเคารพนับถือ โดยอาศัยหลักสัปปุริสะธรรม 7  (พระมหาสมปอง :http://www.fasaiclub.com/read.php?tid=2599)
              การครองตน คือ การสร้างมิตรภาพ
ทักทายปราศรัย ยิ้ม  จำชื่อให้แม่น แสดงท่าทางเป็นมิตร พยายามช่วยเหลือเขาเมื่อเดือดร้อน  พูดและทำด้วยความจริงใจ  มีความสนใจแท้จริง อ่อนน้อม รับคำติชม คำวิจารณ์
กระตือรือร้นในการให้บริการผู้อื่นๆ มีอารมณ์ขัน อดทน ถ่อมตน
              การครองตน คือ ความสำเร็จ
·       รู้จักสะสมประสบการณ์
·       ควรมีความสามารถ
·       หามุมมองธุรกิจที่แตกต่างจากคนอื่น
·       ควรคำนึงถึงจังหวะ และระยะเวลาที่พอเหมาะพอดี
·       ตรวจดูสภาพสิ่งแวดล้อม และผู้คนช่วยกันสนับสนุนธุรกิจ (รู้เขารู้เรา)
·       ควรมีหลักในการปกครองที่ดี
·       ผู้ดำเนินธุรกิจต้องมีความตั้งใจจริง
·       ต้องมีความขยันหมั่นเพียร
·       มีความรักในการทำงาน
·       ต้องสนุกกับงาน แล้วจะเกิดความสุข ความสำเร็จ (http://webboard.yenta4.com/topic/150028)

              ส่วน ถวิล อรัญเวศ กล่าวว่า การครองตน
. กล้าตัดสินใจ เป็นคนที่สุขุม รอบคอบ มีเหตุมีผลในการตัดสินใจ ไม่ด่วนเชื่อ แต่ต้องมีความรอบคอบโดยอาศัยข้อมูลจากหลายส่วนที่  เป็นปัจจุบันทันสมัยประกอบการตัดสินใจ
๒.ไวต่อข้อมูล เป็นคนที่ทันสมัย ไวต่อข้อมูลหรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ฉะนั้นจำเป็นต้องเป็นผู้ที่ติดตามข่าวสารต่างๆ อยู่เสมอ โดยสามารถสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือสื่อสารที่ไร้พรมแดนในรูปแบบต่าง ๆ
. เพิ่มพูนวิสัยทัศน์ สามารถมองเห็นภาพในอนาคตและวางแผนหาแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาในอนาคตได้เป็นอย่างดี
. ซื่อสัตย์และสร้างสรรค์ผลงาน เป็นคนซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งแล้ว ยังจะต้องพยายามสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอและนำมาเผยแพร่ในผ่านการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และเว็บไซต์
. ประสานสิบทิศ สามารถประสานงานกับ หน่วยงาน องค์กร หรือบุคคลต่างๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถไกล่เกลี่ยข้อกรณีพิพาทได้ และ สามารถ ขจัดปัดเป่าปัญหา ต่างๆ ในหน่วยงานได้อย่างสันติวิธี โดยอาศัยหลักการปรองดอง และสมานฉันท์เป็นบรรทัดฐาน
. คิดสร้างสรรค์วิธีการทำงานใหม่ๆ คิดหาวิธีการทำงานแบบใหม่ๆ หรือหาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เพื่อประกอบการบริหารงาน เป็นระยะ ๆ ตามแต่โอกาสอันสมควร
. จูงใจเพื่อร่วมงาน มีทักษะในการใช้ภาวะผู้นำเพื่อโน้มน้าวหรือจูงใจเพื่อนร่วมงาน ให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน และมีความรับผิดชอบ ต่องานสูง ประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม รู้จักให้การชมเชย ให้รางวัล หรือบำเหน็จความชอบในระบบคุณธรรม และคุณงามความดีของแต่ละคนที่ได้สะสมมา โดยจะต้องศึกษาข้อมูลของเพื่อนร่วมงานที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาให้ดีพอก่อนตัดสินใจให้ความดี ความชอบเพื่อให้ขวัญและกำลังใจเพื่อนร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างเสมอภาคและทั่วถึง
. ทนทานต่อปัญหาและอุปสรรค มีความอดทนอดกลั้น ต่อปัญหาอุปสรรคที่กำลังเผชิญ และพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อการแก้ไขปัญหาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยอย่างสันติสุขไม่หนีปัญหาและไม่หมักหมม
ปัญหาไว้ให้พอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ
. รู้จักยืดหยุ่นตามเหตุการณ์ บางครั้งก็ต้องดำเนินการในสายกลางตามแนวพระพุทธศาสนาแนะนำให้ดำเนินในทางสายกลางแต่ในบางครั้งต้องมี ความเด็ดขาดและฉับไวเพื่อฟันธงในการแก้ไขปัญหาให้หมดไปอย่างรวดเร็ว
 ๑๐.บริหารงานแบบมีส่วนร่วม จะต้องบริหารงานในรูปแบบให้ทีมงานมีส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วม ดำเนินการ ร่วมตัดสินใจ และร่วมรับผิดชอบ

ข้อผิดพลาด 10 ประการของผู้ำนำ : The Top Ten Mistakes Leaders Make.









ข้อผิดพลาด 10 ประการของผู้ำนำ : The Top Ten Mistakes Leaders Make.

ได้หนังสือมาเล่มหนึ่งค่ะ นานมากแล้วแต่ไม่โอกาสได้อ่านอย่างจริง ๆ จัง ๆ สักที ช่วงนี้ทำตัวให้ว่างแล้วลองนั่งอ่านแบบต้องตั้งใจค่ะ เพราะเป็นงานในกระบวนวิชาหนึ่งที่ลงทะเบียนอยู่ ครั้งแรกที่พบหนังสือเล่มนี้ในห้องสมุดของโรงเรียนก็สะกิดใจชื่อเรื่องทันที เพราะคนส่วนใหญ่มักจะกล่าวแต่เรื่องดี ๆ ของผู้นำแต่มักมองข้ามข้อบกพร่องไปอย่างน่าเสียดาย แล้วก็ยืมมาทันทีแต่เก็บไว้เสียนานหวังว่าประเด็นผู้นำด้านนี้คงไม่ล้าสมัยเกินไป


การข้อผิดพลาด 10 ประการของผู้ำนำ : The Top Tem Mistakes Leaders Make.

เขียนโดย  Hans FinZel   แปลโดย สมใจ รักษาศรี   

            ข้อความตอนหนึ่งในเล่มกล่าวว่า  "หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อตอบคำถามเรื่องการขาดแคลนผู้นำ แต่สิ่งที่ต้องการเน้นถึงคือ อะไรที่ทำให้ผู้นำดี ๆ กลายเป็นคนเลวร้ายหรือดีกว่านั้นก็คือนิสัยอะไร ที่ควรหลีกเลีี่ยงถ้าคุณอยากเติมเต็มช่องว่างและเสริมสภาพการขาดแคลนผู้นำ" แฮนส์กล่าว
            การเป็นผู้นำนั้นเป็นอันตราย ประวัติศาสตร์โลกจะสามารถเขียนได้ดีที่สุดโดยการศึกษาชีวิตของผู้นำที่ยิ่งใหญ่และผู้นำที่เลวร้าย และจากความสำเร็จของพวกเขาผ่านทางคนอื่น ๆ เราที่อยู่ในฐานะผู้ำนำสามารถเป็นได้ทั้งผู้ที่ผลักดันชาย-หญิง หรือภูเขาให้เคลื่อนที่ไป แต่ขณะเีดียวกันเราก็มีอำนาจที่จะทำความเสียหายให้กับผู้ตามเราได้ด้วยการทำผิดพลาดของเรา
            ยิ่งอิทธิพลของการเป็นผู้นำของเราแผ่ขยายไปมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีผลกระทบต่อโลกรอบตัวเรามากขึ้นเท่านั้น และยิ่งมีคนที่เราต้องนำมาเท่าไหร่ โอกาสที่จะสร้างความเสียหายอันเนื่องมาจากการตัดสินใจที่ผิดของเราก็มีมากขึ้นเท่านั้น นี่เป็นเรื่องปกติที่เราจะต้องเผชิญเมื่อเรารับตำแหน่งผู้นำ
            นั่นคือบทย่อของหนังสือที่พิมพ์ไว้ปกหลัง ทีนี้เรามาดูกันว่า ข้อผิดพลาด 10 ประการของผู้ำนำ : The Top Tem Mistakes Leaders Make. มีอะไรบ้าง
           

1.        ท่าทีแบบบนลงล่าง  : อุปสรรคอันดับหนึ่งในการนำ

2.       ให้งานเอกสารมาก่อนบุคคล :  คำสารภาพของคนย้ำคิดย้ำทำ

3.       การขาดการให้ความมั่นใจ อะไรจะดีไปกว่าการได้รับเงินเดือนมากขึ้น

4.       ไม่มีที่สำหรับคนที่รักอิสระและชอบสันโดษ  พวกเขานำอนาคตมาถึงเรา

5.       เผด็จการในการตัดสินใจ  ไปไกลเกิน รู้คำตอบทั้งหมดแล้วคนเดียว

6.       การมอบหมายงานอย่างสกปรก ไม่ยอมผ่อนคลายและไม่ปล่อยให้ดำเนินไป

7.       การสื่อสารที่ไร้ระเบียบ ร้องเพลงหน้าเดียว ในหนังสือเพลงสวด

8.       เงื่อนงำของวัฒนธรรมองค์การที่ขาดหายไป นักฆ่าที่มองไม่เห็นตัวสำหรับผู้นำหลายคน

9.       ความสำเร็จที่ปรารถนาจากผู้สืบทอด  วางแผนการจากไปของคุณตั้งแต่วันแรก

10.     ล้มเหลวในการมุ่งสู่อนาคต  เตรียมตัวเอง มันช้ากว่าที่คุณคิด

 สรุปมาแบบย่อมาก ๆ วันหน้าจะมาเพิ่มเติมรายละเอียดในแต่ละข้อนะคะ

 

 

 

การบริหารการศึกษา-ภาวะผู้นำ: ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาวะผู้นำ

การบริหารการศึกษา-ภาวะผู้นำ: ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาวะผู้นำ: ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 1 . 1    ความหมายของผู้นำและภาวะผู้นำ  ภาวะผู้นำหมายถึงอะไร?  ( What is leadership ? )   เป็น...

feu.team: ภาวะผู้นำในอนาคต

feu.team: ภาวะผู้นำในอนาคต: ผู้นำในอนาคต แนวโน้มผู้นำในอนาคต                      ในช่วงระยะ 10 ปี แรกของการเริ่มศตวรรษที่ 21 นี้เรื่องภาวะผู้นำจะยังคงเป็นประเด...