วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

ผู้นำระดับที่ห้า







           สุเทพ พงษ์ศรีวัฒน์  ได้พบว่า  จิม คอลลินส์ ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของผู้นำมีผลสำคัญต่อความสามารถในการเปลี่ยนองค์กร จาก “ดีธรรมดาให้เป็นองค์กรที่ ดีสุดยอดผู้นำขององค์กรที่ดีสุดยอดจะมีลักษณะที่คล้ายหรือเหมือนกันเกือบหมด เรียกได้ว่า ออกมาจาก เบ้าหลอมเดียวกัน สิ่งที่ผู้เขียนหนังสือเล่มดังกล่าวสรุปมาได้มาจากผลการศึกษาวิจัยล้วนๆ เนื่องจากเป็นการยากที่จะหาชื่อที่เหมาะสมสำหรับเรียกผู้นำขององค์กรเหล่านี้ จึงเรียกด้วยภาษาง่ายๆ  ว่า เป็นผู้นำในระดับที่ห้า (Level 5 Leadership) โดยมีการแบ่งว่า เมื่อคนเราก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำนั้น จะสามารถแบ่งผู้นำที่ดีออกเป็น 5 ระดับ โดยในสี่ระดับแรกประกอบไปด้วย
              ระดับที่หนึ่ง หรือ High Capable Individual เป็นผู้ที่มีความสามารถเฉพาะตัวที่ดี ทั้งทักษะ ความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมในการทำงานที่ดี ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร
              ระดับที่สอง หรือ Contributing Team Member เป็นผู้ที่สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และช่วยให้กลุ่มและทีมบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
              ระดับที่สาม หรือ Competent Manager เป็นผู้ที่สามารถบริหารบุคลากรและทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายขององค์กร
              ระดับที่สี่ หรือ Effective Leader เป็นพวกผู้นำที่สามารถ นั้นคือทำให้ทุกคนเกิดความมุ่งมั่น กำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และสามารถจูงใจให้บุคลากรทุกคนทำงานอย่างทุ่มเทเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว
ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า ในสี่ระดับข้างต้นจะเป็นลักษณะของบุคลากร และผู้นำในองค์กรที่เราพบเจอในหนังสือภาวะผู้นำทั่วๆ ไป แต่ในองค์กรที่สามารถปรับตนเองจากดีธรรมดา ให้เป็นดีสุดยอดได้นั้น ต้องมีลักษณะของผู้นำระดับที่ห้า
              ผู้นำระดับที่ห้า คือ ผู้นำกลุ่มนี้ ไม่เพียงแต่มีคุณลักษณะตาม “ สี่อันดับแรกแล้ว จะมีความแตกต่าง คือ จะต้องสร้างความสุดยอดอย่างยั่งยืนให้กับองค์กรได้ด้วยคุณสมบัติที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ความมุ่งมั่นที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ กับ ความถ่อมตัว การที่ผู้นำระดับที่ห้าเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพถ่อมตัว ไม่ได้หมายความว่า ผู้นำดังกล่าวจะต้องขี้กลัว ไม่กล้า หรือขาดความทะเยอทะยาน ผู้นำเหล่านี้ อาจจะไม่ชอบความมีชื่อเสียง หรือไม่ชอบเป็นจุดสนใจของคนทั่วไป แต่พวกเขาก็มีความมุ่งมั่น และทะเยอทะยานเพื่อองค์กร ไม่ใช่เพื่อตัวเอง  
              คุณสมบัติสำคัญ สำหรับผู้นำระดับที่ห้า คือ      ประการที่หนึ่งความมุ่งมั่นและทะเยอทะยานต่อความสำเร็จขององค์กรเป็นอันดับแรก จนกระทั่งอาจกล่าวได้ว่าผู้นำเหล่านี้ต้องการเห็นความสำเร็จขององค์กร มากกว่าความสำเร็จและความร่ำรวยของตนเอง ผู้นำประเภทนี้จะมีความรักและภักดีต่อองค์กรเป็นอย่างสูง เสียสละได้แม้กระทั่งความสุขหรือความสำเร็จส่วนตัว เพื่อความสำเร็จขององค์กร ต้องการเห็นความสำเร็จขององค์กรยั่งยืนและยืดยาวไปถึงผู้บริหารรุ่นต่อๆ ไปโดยยอมจะอยู่หลังฉากเงียบๆ ไม่ชอบที่จะเปิดเผยตัวว่าเป็นผู้สร้างรากฐาน และความสำเร็จสำหรับผู้นำรุ่นต่อๆไป โดยไม่สนใจว่าผู้นำในยุคต่อไปจะคำนึงถึงรากฐานที่ตนเองได้วางไว้หรือไม่ ส่วนพวกผู้นำที่มุ่งเน้นความสำเร็จของตนเอง ต้องการชื่อเสียง เกียรติยศ ทรัพย์สิน หรือความสำเร็จ ไม่ถือว่าเป็นผู้นำระดับห้าที่จะนำพาองค์กรของตนเองจากองค์กรดีธรรมดาเป็นองค์กรที่ดีสุดยอดได้ ผมเองก็พบผู้นำระดับที่ห้าอยู่เหมือนกัน ผู้นำเหล่านี้จะตรงกันข้ามกับผู้นำธรรมดาๆ ที่มุ่งมั่นต่อความสำเร็จของตนเองเป็นหลัก ไม่ให้ความสนใจต่อการวางรากฐานต่อความสำเร็จขององค์กรในยุคต่อๆไป  อย่างไรก็ตาม ท่านผู้อ่านอาจจะเจอผู้นำที่ประสบความสำเร็จในการนำพาองค์กรสู่ความสุดยอดได้ แต่ถ้าเมื่อเขาหลุดจากตำแหน่ง องค์กรก็เริ่มตกต่ำลง เนื่องจากการขาดการวางรากฐานสำหรับความสำเร็จไว้ตั้งแต่ต้น ย่อมไม่ถือว่าเขาเป็นผู้นำระดับที่ห้า
              ประการที่สอง เป็นผู้ที่ถ่อมตัวและไม่ถือตัวเองเป็นหลัก เวลาพูดกับผู้บริหารที่เป็นผู้นำในระดับที่ห้า ผู้บริหารเหล่านั้นจะไม่พูดถึงสิ่งที่ตนเองได้ทำเลย แต่จะพูดถึงสิ่งที่ผู้บริหาร หรือผู้ร่วมทีมคนอื่นๆ ได้ทำให้กับองค์กร ต่างจากผู้นำที่เราเห็นหลายๆ คนที่ชอบถือตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และมักจะมองว่าความสำเร็จขององค์กรนั้นเกิดขึ้นจากตัวเองเป็นหลัก ผู้นำระดับที่ห้าค่อนข้างเป็นคนถ่อมตัว เก็บตัว เงียบ ขี้อาย หรือแม้กระทั่งหลายๆ ครั้งอาจจะดูไม่มั่นใจ บุคคลเหล่านี้ไม่เคยต้องการที่จะเป็นผู้นำประเภทที่โดดเด่น เป็นที่รู้จักของวงการ แต่ขณะเดียวกัน ผู้นำประเภทนี้ไม่ได้เป็นคนใจอ่อนหรือโลเล สิ่งที่ จิม คอลลินส์ พบจากงานวิจัยของเขาก็คือ ผู้นำที่สามารถนำพาองค์กรสู่ความสุดยอดได้นั้น จะมีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จขององค์กรเป็นอย่างสูง และจะทำทุกอย่างและทุกวิธีทาง (ในสิ่งที่ถูกต้อง) เพื่อนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ         ดังนั้นในหลายๆ ครั้งเราอาจจะเจอผู้นำระดับที่ห้า ที่อาจจะดูใจร้ายก็ได้ เช่น ไล่ญาติตนเองออก หรือ ปิดโรงงานบางแห่งไป ซึ่งถึงแม้จะดูใจร้ายแต่ก็ทำเพื่อความสำเร็จขององค์กร
              ประการที่สาม ผู้นำเหล่านี้มักจะมาจาก “ภายในองค์กรจากหลักฐานงานวิจัยของเขาจะไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำระดับที่ห้ากับการเป็นผู้บริหารที่มาจากภายนอกองค์กร
              ประการที่สี่ ผู้นำในระดับที่ห้าส่วนมากมักพูดถึงความสำเร็จขององค์กร ว่า สาเหตุหลักประการหนึ่งมาจาก  “ดวงหรือโชค” (Luck) เช่น ผู้บริหารที่เป็นผู้นำระดับที่ห้า คนหนึ่งระบุเลยว่า สาเหตุที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จก็คือ ความโชคดีที่สามารถหาคนที่จะมาแทนเขาได้เหมาะสม

ผู้บริหารอีกท่านหนึ่งที่เขียนหนังสือออกมา ตั้งชื่อหนังสือไว้อย่างเก๋ไก๋เลยว่า I’m a Lucky Guy หรือ ผมเป็นคนโชคดีถามว่าทำไมผู้นำเหล่านี้ถึงมักจะให้ความสำคัญกับโชค เนื่องจากผู้นำระดับที่ห้า เมื่อสามารถนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ ก็มักจะมองออกไปจากตัวเองเพื่อหาบุคคลหรือเพื่อนร่วมงานที่จะรับความดีความชอบ แต่ถ้าหาใครไม่ได้ เขามักสรุปให้ไปลงเอยที่ โชคเรียกได้ว่าเมื่อความสำเร็จเกิดขึ้น มักชอบนึกว่าเป็นโชคดีของตนเองที่มีเพื่อนร่วมงานและลูกน้องที่ดี ทางตรงกันข้าม เมื่อเหตุการณ์ไม่ดี ผู้นำเหล่านี้กลับ ไม่โทษโชคชะตาแต่จะมองว่าสาเหตุของความผิดพลาดและล้มเหลวมาจาก ตนเองลักษณะดังกล่าวจะตรงกันข้ามกับ ผู้นำทั่วๆไปที่เมื่อสิ่งไม่ดีเกิดขึ้น มักจะโทษโชค แต่เมื่อมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้น มักจะหันกลับมามองที่ตัวเอง และคิดว่าตัวเองเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

ที่มา http://suthep.cru.in.th

ที่มา http://suthep.cru.in.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น